วิชาทฤษฎีความรู้ (TOK)


การจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้ เรื่องทฤษฎีความรู้ (TOK : Theory of Knowledge)

เป็นสาระการเรียนรู้สำคัญที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking)  ของผู้เรียนและเป็นสาระการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย (Goal) เพื่อช่วยผู้เรียนให้สามารถเข้าใจสถานการณ์/บริบทในสังคม และใช้ความรู้ที่ตนได้เรียนรู้มาศึกษาวิเคราะห์สภาพการณ์/สถานการณ์/บริบท สามารถจำแนกระหว่างการให้เหตุผลดี เหมาะสม และเหตุผลที่ไม่ดี ไม่เหมาะสม (Good and poor reasoning) สามารถวิเคราะห์และให้เหตุผล ความอคติ/ความลำเอียง/เกี่ยวกับอุบัติการณ์ของ สถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น (to spot international or accidental bias) และสามารถระบุความไม่สมเหตุสมผล (inconsistencies) ของสถานการณ์/สภาพการณ์ต่าง ๆ

วิดีทัศน์นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้วิ­ทยาศาสตร์บูรณาการสาระทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge:TOK) ในบริบทของโรงเรียนนนทรีวิทยา ซึ่งผมได้ดำเนินการวิเคราะห์หลักสูตร ออกแบบการเรียนรู้ พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน และจัดการเรียนรู้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับโรงเ­รียนมาตรฐานสากล ที่มีการจัดการเรียนรู้สาระทฤษฎีความรู้ต่­อไป

ทั้งนี้ผมได้นำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ Worldclass Standard School และการจัดการเรียนรู้วืชาทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) มาให้ดาวน์โหลดกันครับ ซึ่งมีรายละเอียดที่ดีมากๆ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการใช้จัดการเรียนการสอนได้จริง เป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างแน่นอน ลองดาวน์โหลดไปศึกษากันดูนะครับ

ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ แนวทางการจัดการเรียนรู้ wcs คลิกได้เลยครับ !

ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ตัวอย่างรายวิชา TOK คลิกได้เลยครับ !

ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ ทฤษฎีความรู้ คลิกได้เลยครับ !

นอกจากนี้ ในฐานะที่ผมได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอนสาระทฤษฏีความรู้ โดยบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนรู้หนึ่งในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงได้จัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนสาระทฤษฏีความรู้ขึ้น ลองดูเป็นแนวทางได้นะครับ (ดูภาพขนาดใหญ่ Click ที่ปุ่ม Full)

ซึ่งได้จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่มีการบูรณาการสาระทฤษฎีความรู้ เข้ากับมาตรฐานการเรียนรุู้ที่ 8 ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการจัดเป็นหน่วนการเรียนรู้หนึ่งในรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ .2551 ด้วย ลองดูเป็นแนวทางได้นะครับ

ส่วนในการเขียนรายงานผลการศึกษาทฤษฎีความรู้นั้น คงไม่มีแบบอย่างที่แน่นอน ส่วนผมเองให้นักเรียนเขียนบทความสั้นๆ ในเอกสารที่จัดทำขึ้น แต่จะขอนำเสนออีกรูปแบบหนึ่งในลักษณะของการวิจัย ของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นะครับ ลองดาวน์โหลดไปดูได้ครับ

ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ  ตัวอย่างการเขียนรายงานผลการศึกษาทฤษฏีความรู้ คลิกได้เลยครับ !

ในช่วงนี้มีการจัดงาน Towards World-Class Education เป็นการนำเสนอผลงานและการแข่งขันต่างๆ ของโรงเรียน ครูและนักเรียน โรงเรียนมาตรฐานสากล ท่านใดสนใจลองดาวน์โหลด รายละเอียดไปศึกษาดูได้ครับ

ดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับ  การประกวดของโรงเรียนมาตรฐานสากล คลิกได้เลยครับ !

ถ้าใครดาวน์โหลดแล้วรบกวนช่วย Comment ไว้ด้วยนะครับ   ขอบคุณครับ

ขอบข่ายเนื้อหาการเรียนการสอน

TOK (Theory of knowledge) เป็นสาระการเรียนรู้ที่ว่าด้วยเรื่องประเด็นความรู้ต่าง ๆ (Knowledge Issues) องค์ความรู้ (Body of Knowledge) และทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge) ของสาระการเรียนรู้พื้นฐานทั้งหมด (Interdisciplinary) ในเชิงบูรณการ ในเชิงปฏิบัติ ครูและผู้เรียนจะต้องร่วมกันกำหนดเนื้อหา โดยวิธีการต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น การระดมสมอง การใช้แบบสอบถาม เกี่ยวกับประเด็นร้อนของสังคม เหตุการณ์ปัจจุบัน  สภาพปัจจุบันและปัญหาที่ผู้เรียนหรือสังคมกำลังเผชิญหรือหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ เป็นต้น จากนั้นครูและผู้เรียนรวบรวมรายชื่อหัวข้อเรื่อง (Topic) อย่างเป็นระบบ โดยจัดเป็นเอกสารลักษณะรูปเล่ม (Directory)

วิธีการจัดการเรียนการสอน

ครูใช้รูปแบบการสอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สนทนาโต้ตอบ (Discuss) และอภิปรายซักถาม (Debate) โดยไม่มีการตัดสินถูก (Right) หรือผิด(Wrong) ในข้อคิดเห็น แต่ครูผู้สอนจะต้องมุ่งพัฒนาส่งเสริม/ฝึกฝนวิธีการให้ความคิดบนพื้นฐานของความรู้และทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นให้ข้อมูลขัดแย้งหรือเห็นด้วยอย่างมีคุณภาพ (Quality of justification and a balance approach to the knowledge claim in question) ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถและมีทักษะในการนำเสนอ แนวคิด/องค์ความรู้ โดยบอกประเด็นสำคัญ 3 ประเด็นเกี่ยวกับหัวข้อ (Topic) ที่ตนเองเลือก ได้แก่

1. สามารถบอกช่องทางการรับรู้ความรู้ (ได้รับความรู้มาอย่างไร) เช่น รับรู้ความรู้โดยความรู้สึก (Sense Perception)หรือรู้โดยเหตุผล (Reason) รับรู้โดยอารมณ์ (Emotion) หรือรับรู้จากสื่อภาษา สัญลักษณ์/การให้สมญานาม (language/symbols/nomenclature) เป็นต้น

2. สามารถบอกสาขาของความรู้ที่ได้รับ (Area of Knowledge) เช่น เป็นความรู้ด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์  ศิลปะ และศิลปกรรม

3. สามารถบอกความหมายขององค์ประกอบต่าง ๆ ของความรู้ที่ได้รับในเรื่องต่อไปนี้

3.1 ธรรมชาติการรับรู้ (Nature of Knowing) เช่น การรับรู้จากประเภทของข้อมูล ได้แก่ สารนิเทศ(information) หรือข้อมูล (Data) หรือ ความเชื่อ (Belief) หรือความศรัทธา (Faith) หรือความคิดเห็น (Opinion) หรือความรู้ (Knowledge) หรือภูมิปัญญา (Wisdom)

3.2 ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Knowledge of Communities)

3.3 ภูมิปัญญาชาวบ้าน (Knower s’ Senses) และ

3.4 ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและการเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ (Justification  of Knowledge Claims)

การวัดประเมินผลการเรียน

TOK : Theory of Knowledge การวัดประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเรียนการสอน TOK ผู้เรียนจะต้องผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

1. การเขียนความเรียงขั้นสูง (TOK Essay) นำเสนอแนวคิดความคิดเห็นการให้เหตุผลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ผู้เรียนได้รับเลือกจากหัวข้อเรื่องที่ครูกำหนดให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นหัวข้อเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพสังคมปัจจุบัน

2. การพูดนำเสนอเนื้อเรื่องของความเรียง (TOK Presentation) ผู้เรียนจะต้องนำเสนอหัวข้อของความเรียงในข้อ 1 ในลักษณะของรูปแบบการนำเสนอตามประเด็นระเบียบวิธีวิจัยเบื้องต้น ตามเวลาที่กำหนดให้ และในการนำเสนอผู้เรียนจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเสนอความคิดเห็นโดยการอ่านอย่างเด็ดขาด

3. ในการให้คะแนนสำหรับผลงานเขียน (Extended-Essay)และการนำเสนอผลงาน (TOK Presentation) โดยครูผู้สอนพิจารณาความสำคัญของหัวข้อเรื่อง (Topic) ความน่าเชื่อถือของการกำหนดหัวข้อเรื่อง (Reliability) ทฤษฎีและความรู้ที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) การเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา (Identification of suitable approach) การสรุปผล และการให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ (Suggestions) เป็นต้น

ตัวอย่างเกณฑ์การวัดและประเมินผล

โดยทั่วไปในการวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ สาระ TOK (Theory of Knowledge) มีการกำหนดให้ใช้เกณฑ์ประเมินทั้งความรู้ และทักษะการนำเสนอในการเขียนความเรียง โดยใช้เครื่องมือประเมิน ดังนี้

ข้อมูลจาก สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2553). คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

จากนโยบาย…สู่การบูรณาการการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีความรู้ (Theory of Knowledge) ในโรงเรียน

จากการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษานานาชาติที่มุ่งเน้นความเป็นสากล สามารถสรุปผลและจำแนกประเภทของรูปแบบที่สอดคล้องกับเป้าประสงค์ของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

 

 
 

 

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนมาตรฐานสากลพัฒนาโดยยึดรูปแบบโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เป็นสำคัญ กล่าวคือ หลักสูตรสถานศึกษามีองค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ สาระพื้นฐาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สาระเพิ่มเติมและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ซึ่งแสดงเป็นแผนภูมิการเปรียบเทียบโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

 

 

ดังนั้นแต่ละโรงเรียนอาจมีการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีความรู้ (TOK) ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บางโรงเรียนอาจเปิดเป็นวิชาเพิ่มเติม ที่มีการกำหนดผลการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ขึ้นเองโดยมีกลุ่มสาระใดกลุ่มสาระหนึ่งรับผิดชอบ  ในขณะที่บางโรงเรียนอาจจะจัดในลักษณะของการบูรณาการในวิชาพื้นฐาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมและบริบทต่างๆของโรงเรียน

สำหรับที่โรงเรียนนนทรีวิทยา ซึ่งผมเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้วิชา ทฤษฎีความรู้ (TOK) โดยกลุ่มบริหารวิชาการ ได้กำหนดให้การจัดการเรียนการสอนวิชา ทฤษฎีความรู้ เป็นแบบบูรณาการ ซึ่งมี 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ คือ วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์  ศิลปะ  การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพลศึกษา โดยที่มีการกำหนดเป็นสัปดาห์จัดกิจกรรม TOK ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ไว้ในปฏิทินวิชาการของโรงเรียน ซึ่งครูผู้สอนในระดับ ม.1 และ 4 ทั้ง 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ดังกล่าว จะต้องจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการเกี่ยวกับ ทฤษฎีความรู้ ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาของวิชาพื้นฐานที่สอนอยู่ ให้ชัดเจน

สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับชั้น ม.1 ที่ผมได้รับผิดชอบอยู่ ได้ดำเนินการคิดกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับ ทฤษฎีความรู้ไว้อย่างคร่าวๆ โดยจะขอนำเสนอเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่สนใจ ดังนี้

กิจกรรมบูรณาการการเเรยนการสอน ทฤษฎีความรู้ ในวิชาวิทยาศาสตร์ 1 ว21101 แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังนี้

1. สำรวจปัญหา  ให้นักเรียนสังเกตและสำรวจว่าในชีวิตประจำวัน พบกับปัญหาในโรงเรียนหรือชุมชนอะไรบ้าง เลือกปัญหาที่ตนเองสนใจคนละ 1 ปัญหา แล้วเขียนถึงสภาพปัญหาและเหตุผลที่นักเรียนสนใจ

2. ร่วมกันกำหนดปัญหา   นักเรียนแต่ละคนนำเสนอปัญหาที่ตนเองสนใจ จากนั้นครูนำอภิปรายเพื่อรวบรวมและจัดกลุ่มปัญหาลักษณะเดียวกัน ให้นักเรียนที่สนใจปัญหาลักษณะเดียวกันอยู่กลุ่มเดียวกัน ตามความเหมาะสม

3. ตั้งสมมุติฐาน  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา โดยใช้ปัญญาในการคิดตั้งสมมุติฐาน

4. รวบรวมข้อมูล  นักเรียนร่วมกันออกแบบ วางแผนดำเนินการเพื่อหาสาเหตุของปัญหา โดยสร้างเครื่องมือ เช่น แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม แล้วนำไปใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

5. วิเคราะห์ข้อมูล  นักเรียนร่วมกันนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และประเมินผล โดยใช้กระบวนการคิด

6. สรุปผล นักเรียนร่วมกันนำผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาสรุป เพื่ออธิบายถึงสาเหตุ และปัจจัย ที่สัมพันธ์กับปัญหาที่กำหนดไว้ในตอนแรก  รวมทั้งตรวจสอบสมมติฐาน โดยนำความรู้ต่างๆของตนเอง มาใช้ในการอธิบายอย่างบูรณาการเพื่อสร้างความรุ้ด้วยตนเอง

7. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลงาน  โดยนักเรียนทุกคนต้องเขียนบทความเชิงวิชาการ  ทำแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ที่ตนเองได้รับ จัดนิทรรศการแสดงผลงานและ นักเรียนทุกคนนำเสนอปากเปล่า คนละ 10 นาที ต่อครู เพื่อนและผู้ที่สนใจ ตลอดจนนำผลงานของนักเรียนที่ดีเด่นเผยแพร่ทาง blog ของครู

8. ประเมินผล ซึ่งประเมินโดย ครู  เพื่อน และผู้ปกครอง ตลอดจนให้นักเรียนประเมินตนเอง โดยจัดทำเป็นรายงานการประเมินการเรียนของตนเอง ในรูปแบบของ Mind mapping เพื่อแสดงถึงช่องทางการรับรู้  สาขาความรู้ คุณธรรมที่ได้รับ และองค์ประกอบความรู้ที่ได้รับ

ตัวอย่างการเขียนแบบวิเคราะห์ตัวชี้วัดและคำอธิบายรายวิชา วิชาทฤษฎีความรู้ (Theory of knowledge : TOK) ลองศึกษาเป็นแนวทางดูนะครับ

และที่กล่าวมานี้ก็เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  TOK  ซึ่งได้คิดตามความรู้ ความเข้าใจ จากการศึกษาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ซึ่งยังไม่รู้ว่าถูกหรือไม่) ที่จะพอเป็นแนวทางสำหรับคุณครูท่านอื่นๆที่สนใจ สุดท้ายนี้ มีตัวอย่างผลงานเกี่ยวกับ  Theory of Knowledge  มาให้ดูกันครับ

ตัวอย่างการนำเสนอปากเปล่าทฤษฎีความรู้ของนักเรียนไทย พูดได้ดีมาก ลองรับชมดูครับ (ไม่ทราบว่าโรงเรียนใด)

นอกจาก TOK แล้ว สำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสาระวิชาอื่นๆ ของหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล สามารถคลิกหัวข้อที่ต้องการเพื่อดาวน์โหลดได้เลยครับ

1_แนวทางการจัดการเรียนรู้ wcs

2_ทฤษฎีความรู้

3_Extended-Essay

4_CAS

5_โลกศึกษา

การเขียนความเรียงขั้นสูง

คู่มือการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

ตัวอย่าง EE

ตัวอย่าง โลกศึกษา

ตัวอย่าง CAS

ตัวอย่าง TOK

ตัวอย่าง ความเรียงขั้นสูง

ตัวอย่าง โลกศึกษา


  1. ดิฉันต้องขอขอบคุณทุกคำแนะนำที่อาจารย์ให้คำแนะนำนะคะสำหรับความคิดเห็นของอาจารย์ดิฉันต้องขอบคุณจริงๆดิฉันได้อ่านข้อความแล้วมีกำลังใจสำหรับการศึกษาต่อไปอาจารย์คะถ้าดิฉันอยากจะสมัครเรียนออนไลย์กับอาจารย์ได้ไหมคะ ถ้าได้ดิฉันต้องทำยังไงบ้างแล้วต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้างพอดีดิฉันไม่มีเวลาไปเรียนพิเศษนอกบ้านนะคะต้องเรียนแต่ในบ้านอย่างเดียว เช่นเรียนผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่นจ้างครูพี่เลี้ยงมาสอนที่บ้านนะคะ
    ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคะตอบคะอาจารย์

  2. คือ ที่โรงเรียนหนู หนูเลือกหัวข้อวิชา Tok คือ เปรียบเทียบระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษและประเทศไทยมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร อ.ว่า มันยากมั้ยค่ะ

  3. หนูหาประวัติความเป็นมาของ T.O.K แต่หาไม่เจออ่ะค่ะ จะหาได้จากที่ไหนค่ะ ตอบหน่อยนะค่ะ

  4. อาจารย์คะดิฉันศิริลักษณ์นะคะดิฉันทำงานเสร็จแล้วแต่รอเปิดเทอมจากการปิด ร.ด. ดิฉันและกลุ่มเพื่อนจะได้นำเสนอผลงานแล้วคะ ดิฉันจึงเรียนมาเพื่อบอกให้อาจารย์ทราบ

  5. วันเพ็ญ ชวรุ่ง

    พึ่งเริ่มการสอน TOK ยังเริ่มต้นไม่ถูก ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ ขอยืมแนวการสอนไปใช้นะค่ะ ผลเป็นประการใดจะแจ้งให้ทราบ เพราะบริบทชนบทย่อมแตกต่างจากในเมือง

  6. อรวรรณ โสภามาตร

    ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลยค่ะ

  7. สวัสดีค่ะคุณครูกอบวิทย์
    ของคุณมากสำหรับความรู้ที่นำมาถ่ายทอดทาง www
    ที่เข้ามาศึกษาเพราะลูกได้เรียนวิชานี้ปีนี้ ลูกกลับมาบอกว่า งง
    ครูก็อธิบายมาจริงแต่ไม่เข้าใจ คุณแม่คนนี้เลยขอศึกษาแล้วเอา
    ไปสอนลูกต่อค่ะ ตัวแม่ก็จะได้เข้าใจถึง TOK ด้วย
    ขอขอบคุณอย่างมากอีกครั้งค่ะ

  8. เรียนท่านอาจารย์กอบวิทย์
    ดิฉันพยายามหาความรู้ TOK มาพอสมควร ก็ยังไม่เข้าใจเท่าไรนัก บอกตรง ๆ งง ๆ ค่ะ การทำ TOK ก็พอเข้าใจ แต่ ESSAY ที่นักเรียนต้องทำ ก็รู้ถึงวิธีการแต่ไม่ค่อยแน่ใจว่านักเรียนต้องทำตัวนี้เมื่อไรกันแน่ แล้วจะวางไว้ที่ส่วนไหนคะ ขอบคุณมากค่ะ

  9. ตัวอย่างการนำเสนอที่เอามานั้น เป็นนักเรียนของ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปางครับ

  10. สวัสดีค่ะ ครูกอบวิทย์ ก่อนอื่นต้องขอชื่นชมคุณครูรุ่นใหม่ไฟแรงที่จะมาเป็นกำลังสำคัญรวมทั้งคอยเติมเชื้อไฟให้ครูเก่า(แต่ไม่แก่)อย่างพี่ด้วยคนค่ะ พอดีว่าจะต้องรับผิดชอบในสาระนี้จึงต้องหาความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณครูกอบวิทย์มากค่ะที่เผยแพร่ผ่านเว็บได้อย่างน่าสนใจและสัญญาว่าจะติดตามเรื่อยๆนะคะ ขอเป็นแฟนคลับครูกอบด้วยค่ะ ถ้ามีปัญหาจะเรียนถามครูกอบแต่ตอนนี้ต้องขอศึกษาแล้วลองทำดูก่อนค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

  11. ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับ tok. แต่ต้องใช้สอนกับวิชาคณิตศาตร์ ชั้น ม. 2 ช่วยอธิบายหน่อยค่ะ ต้องเริ่มจากไหน ขอบคุณค่ะ

  12. ขอบคุณที่เผยแพร่ความรู้ดี ๆ ป้าเป็นครูแก่จะขอเป็นแฟนคลับคุณครูกอบวิทย์ มีอะไรดี ๆ ถ้าจะเผยแพร่ กรุณาส่งอีเมล์ไปให้ป้าด้วย ขอบคูณล่วงหน้า

  13. ขอบคุณ ที่ส่งกิจกรรมให้ค่ะ รบกวนขอ TOK. เป็นวิทยาทาน
    ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  14. ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ ที่ให้ความรู้ในการเขียนความเรียงขั้นสูงค่ะ ขณะนี้ขอรบกวนอาจารย์มีตัวอย่างแผนการสอนความเรียงขั้นสูง ม. 1 ไหมค่ะ เพราะเทอมหน้า พ.ย. 54 จะนำไปสอนเป็นครั้งแรกค่ะเพื่อเป็นแนวทาง ขอขอบคุณ อาจารย์ล่วงหน้านะค่ะ จาก ครูบ้านนอก ตจว.

  15. ขอบคุณที่ทำเว็บไซด์ดี ๆ ให้ค้นคว้าค่ะ

  16. ดีมากค่ะจะขอนำไปเป็นแนวทางในการสอนและขอตัวอย่างไปเผยแพร่แก่ครูในโรงเรียนนะคะ

  17. แผนการสอนของToK. แบบเต็มรุปแบบให้ด้วยคะ และตัวอย่างบทเรียน

  18. ขอแผนการสอนของToK. แบบเต็มรุปแบบให้ด้วยคะ และตัวอย่างบทเรียน สำหรับเด็กพิเศษนะคะ

  19. ขอบคุณครูกอบวิทย์มากคะ ที่ให้ข้อมูล

  20. เป็นการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจมาก

  21. ขอบคุณ คุณครูกอบวิทย์ ให้ความรู้ที่ดีสำหรับครูแก่ ตกยุค

  22. ทฤษฎ๊ความรู้ TOK เป็นวิชาเดียวกันกับวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) ไหมคะ

  23. เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณคร้า

  24. ได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎืความรู้มากคะ

  25. ขอบคุนมากๆเลยค่ะ

  26. ขอตัวอย่างผลงานนักเรียนหน่อยคับ

ส่งความเห็นที่ มุกดาภรณ์ พนาสรรค์ ยกเลิกการตอบ