ผลงานวิจัยในชั้นเรียน


           ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.2542  มีสาระสำคัญที่เน้นการปฏิรูปการศึกษา  โดยเฉพาะการปฏิรูปการเรียนการสอน ซึ่งในมาตรา 24  ได้กล่าวถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์ และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา  ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนดารสอนและแหล่งวิทยากรต่างๆ

                มาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอน สมารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

                นอกจากนี้แนวทางการจัดหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กล่าวว่า เพื่อให้หลักสูตรบรรลุผลตามหลักการ ตุดหมาย โครงสร้างที่กำหนด สถานศึกษาต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรให้มีรูปแบบและวิธีการที่หลากหลายสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความต้องการของผู้เรียน ให้ครูผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสานหรือบูรณาการใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงคุณภาพและศักยภาพของผู้เรียน รวมทั้งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ มีขั้นตอนปฏิบัติ เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนา  การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา  การเก็บรวบรวมข้อมูล  การสรุปผล  การแก้ปัญหาหรือพัฒนา  การรายงานผลการเรียนรู้ และการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้

                ดังนั้นการวิจัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับครูที่เป็นครูมืออาชีพ ผลการวิจัยจะทำให้ทราบว่าจะจัดการศึกษาอย่างไร จึงถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด และได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ครูจึงต้องศึกษาวิจัยให้ได้ข้อสรุปว่า การจัดการเรียนรู้อย่างไรจึงจะเสริมสร้างกระบวนการคิด การฝึกทักษะการเผชิญสถานการณ์  และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ต้องสามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน โดยเฉพาะในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ผลงานวิจัยในชั้นเรียน ของ ครูกอบวิทย์   พิริยะวัฒน์  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โรงเรียนนนทรีวิทยา มีดังนี้

ปีการศึกษา 2552

ชื่องานวิจัย การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะ

หาความรู้ (5E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์

ผู้จัดทำ นายกอบวิทย์        พิริยะวัฒน์

 ข้าราชการครู  ตำแหน่งครูผู้ช่วย  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนนทรีวิทยา

บทคัดย่อ 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  ที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง   ซากดึกดำบรรพ์   (Fossils)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6/1 โรงเรียนนนทรีวิทยา   แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random  Sampling) โดยวิธีการจับฉลากจากจำนวนนักเรียน   8   ห้องเรียน มา  1  ห้องเรียน           ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง   46   คน

เครื่องมือที่ใช้เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้  จำนวน  1  แผน  เวลา  6  ชั่วโมง  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง ซากดึกดำบรรพ์  ( Fossils) และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์

แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pretest – Posttest Design

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ t – test Dependent Sample

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า  ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์  เรื่อง   ซากดึกดำบรรพ์   (Fossils)  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน แบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ ในการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์  โลก และดวงจันทร์

ผู้จัดทำ นายกอบวิทย์        พิริยะวัฒน์   ข้าราชการครู  ตำแหน่งครูผู้ช่วย  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนนทรีวิทยา

บทคัดย่อ

สื่อการเรียนการสอน แบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์  โลก และดวงจันทร์ ได้ศึกษาวิธีการสร้างแบบจำลอง เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของ ดวงอาทิตย์  โลก และดวงจันทร์ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ง่าย  ราคาไม่แพงและสามารถประกอบขึ้นได้ง่าย  เพื่อทดแทนการสั่งซื้อจากต่างประเทศ ที่มีราคาแพงมาก  ตลอดจน สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ  โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ

1. เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอน แบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ ของดวงอาทิตย์  โลก และดวงจันทร์

2.  เพื่อสร้างสื่อการเรียนการสอนที่มีคุณภาพในการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์  สาระที่ 7  เรื่อง ดาราศาสตร์และอวกาศ

ผลการศึกษา พบว่า

1.   สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์  โลกและดวงจันทร์ สามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ถูกต้องและสอดคล้องกับทฤษฎีของความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์  โลก และดวงจันทร์

2.  สื่อการเรียนการสอนแบบจำลองแสดงความสัมพันธ์ในการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์  โลกและดวงจันทร์ มีคุณภาพทางด้านลักษณะทางกายภาพทั่วไป  ลักษณะการใช้งาน และความเหมาะสม   ในการนำไปประกอบการเรียนการสอน อยู่ในระดับ ดีมาก

ชื่อเรื่อง การประเมินหลักสูตร ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ของรายวิชา ว 21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยา พุทธศักราช 2552 โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์

ผู้จัดทำ นายกอบวิทย์        พิริยะวัฒน์   ข้าราชการครู  ตำแหน่งครูผู้ช่วย  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนนทรีวิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการประเมินหลักสูตร ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน  ของรายวิชา ว 21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยา พุทธศักราช 2552  โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์  โดยมีความมุ่งหมาย เพื่อเป็นการประเมินหลักสูตร ให้ทราบถึงคุณภาพของหลักสูตรในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ของรายวิชา ว 21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนนนทรีวิทยา พุทธศักราช 2552   ผลการวิจัยพบว่า จากผลการวิเคราะห์กิจกรรมการเรียนการสอนและหาน้ำหนักแต่ละช่องของตารางวิเคราะห์ของปุยแซงค์ ได้ค่าคุณภาพของหลักสูตร (P.M.)  เท่ากับ  6.228316 ซึ่งแปลผลได้ว่า กิจกรรมการเรียนการสอนของรายวิชา ว 21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยา พุทธศักราช 2552  มีคุณภาพอยู่ในช่วงปานกลางหรือใช้ได้

ปีการศึกษา 2553 

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ป่าชายเลน และความตระหนักต่อป่าชายเลน ของนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา โดยการจัดกิจกรรมโครงการสนองพระราชเสาวนีย์  ลูกนนทรีอาสา ปลูกป่าชายเลน  พิทักษ์นครหลวง

         การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความตระหนักต่อป่าชายเลนของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมโครงการสนองพระราชเสาวนีย์ ลูกนนทรีอาสา ปลูกป่าชายเลน  พิทักษ์นครหลวง ของนักเรียนโรงเรียนนนทรีวิทยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เป็นสมาชิกชุมนุมนนทรีวิทยาสร้างจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม จำนวน 70 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2553 ใช้เวลา12 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยก่อนเและหลังทำกิจกรรม ด้วยการทดสอบค่าทีแบบ t-test for dependent samples ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

                1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องป่าชายเลน หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมโครงการสนองพระราชเสาวนีย์  ลูกนนทรีอาสา ปลูกป่าชายเลน  พิทักษ์นครหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01 

                2. ความตระหนักต่อป่าชายเลนหลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนร่วมกิจกรรมโครงการสนองพระราชเสาวนีย์  ลูกนนทรีอาสา  ปลูกป่าชายเลน  พิทักษ์นครหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01

ชื่อเรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ โดย นายกอบวิทย์   พิริยะวัฒน์

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ 

                   ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนนนทรีวิทยา จำนวน 60 คน จำนวน 20 ชั่วโมง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 2 ห้องเรียน แล้วสุ่มอย่างง่ายอีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีจับฉลากเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และกลุ่มทดลองที่ 2 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Nonrandomized control group pretest-posttest design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แบบปรนัยมีค่าความเชื่อมั่น .92  และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แบบปรนัยมีความเชื่อมั่น .94  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติแบบ  t-test Dependent Samples และ t-test for Independent Sample ในรูป Difference Score

                   ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้

                   1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   2.   นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   3.   นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   4.   นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   5.   นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                   6.   นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอคนิชันในการแก้โจทย์ปัญหาวิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 เผยแพร่บทความวิจัย

 

ดาวน์โหลด คลิ๊กที่นี่ Powerpoint นำเสนองานวิจัยนานาชาติ มศว นายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์

                              บทความวิจัย เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ โดยนายกอบวิทย์ พิริยะวัฒน์

 ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการเขียนรายงานการวิจัย คลิกที่นี่

แบบฟอร์มประเมินโครงการใหม่

แบบฟอร์มการเขียนวิจัย 5 บท

ดาวน์โหลด Powerpoint ที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการวิจัยของ รศ.ดร.มนสิช สิทธิสมบูรณ์ คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร คลิกที่นี้

การทำวิจัยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

แนวคิดการประเมินโครงการ

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการวัดผลและการวิจัย ที่เง็บไซต์ www.watpon.com

 

  1. แอบมาชมผลงานคนเก่งคะ ขอยกนิ้วให้เลยคะ ^_^

  2. แอมป์เองจ้า

    พี่บวบเก่งจังเลยอ่า
    แอมป์อยากทำได้สักครึ่งหนึ่งของพี่อ่ะ
    ตอนนี้ย่ำแย่สอนเด็กไปวันๆ เค้ามีปากกาให้แอมป์แท่งเดียวอ่า
    พี่เรียนโทรึป่าว รึจบไปแย้ว อยากคุยด้วย
    ขอเมล์หน่อยจิ
    ตอบกลับด้วยน้า รอๆ
    คิดถึงๆ

  3. ครูดาราศาสตร์

    ขอบคุณมากเลยนะค่ะสำหรับความรู้ที่มอบให้…..

  4. สมภพ รุ่งสุภา

    จากศูนย์วิทยาศาสตร์ทางทะเล เกาะสี่ชัง ชลบุรี ของจุฬา่ลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    จากการประชุม รวมพลครุวิจัย 20-21 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ประืทับใจอาจารย์มากๆ ถ้าอย่างไรขอรบบกวนความรู้ในเรื่อง wordpress.com ต่อไปด้วยนะครับ
    สมภพ

  5. เคยเจอพี่บวบตอนอยู่ปี1 พี่บวบจำได้อ่ะป่าวก็ไม่รุ้นะ ตอนนี้สอนอยู่โรงเรียนแถวบ้าน กะลังหางานวิจัยทำคร้า แอบเข้ามาดูตัวอย่าง พี่บวบเก่งจัง แล้วจะเข้ามาเยี่ยมอีกนะคะ

  6. จุฑามณี เมยมงคล

    อยากได้ ตัวอย่างงานวิจัย

  7. เก่งจังเลยนะตัวแค่นี้

  8. ทำยังไงถึงจะเก่งอย่างครูกริบวิทย์ แค่ครึ่งหนึ่งก็ยังดี ช่วยแนะนำวิทีหน่อยนะคะ….

  9. ทำยังไงถึงจะเก่งอย่างครูกอบวิทย์ แค่ครึ่งหนึ่งก็ยังดี ช่วยแนะนำวิทีหน่อยนะคะ….ขอโทษนะคะเขียนชื่อผิดเมื่อกี้

  10. ครูนงลักษณ์

    เก่งมากเลยค่ะ

  11. เยี่ยมมากครับคุณครูกอยวิทย์

  12. ครูกอบวิทย์เก่งมาเลย อนาคตของคุณสดใสมาก
    พอดีกำลังหาแนวทางการสอนวิชาTOK อยู่ จะนำแนวทางนี้ไปใช้ครับ

  13. ขอเป็นกำลังใจให้ในการสร้างสื่อ สร้างสรรค์เยาวชนของชาติครับ

  14. บวบ สุดยอด นี่พี่แม๊กซ์ ท.6 นครเชียงรายนะ คนที่ บวบย้ายมาแทนพี่ ผลงานสุดยอด ขอให้กำลังใจนะ

  15. ม.1 เทอม 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องอะไรน่าจะเหมาะกับการพัฒนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์มากที่สุด ช่วยให้คำแนะนำหน่อยค่ะ
    ระหว่าง หน่วยแรงกับการเคลื่อนที่ และหน่วยเรื่องของบรรยากาศ

  16. สุดยอดจริงๆค่ะแต่จัดกิจกรรมยากม๊ากมาก

  17. ครูน้ำหวาน

    มาเจอโดยบังเอิญ แต่ได้ความรู้เยอะแยะมากมายเลยค่ะ ยังไงก็ขอนำความรู้ที่ได้จากเว็บของคุณครูไปใช้ในการทำงานบ้างนะคะ

  18. เก่งมากค่ะครู มีครูเก่งๆ อย่างนี้อนาคตของชาติ ต้องดีแย่างแน่นอน ^^

  19. นิธินันท์ แข่งขัน

    สวัดดีคะ
    พี่รบกวนขอตัวอย่างงานวิจัยชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ระดับ ม 2 ด้วยได้ไหมคะ ขอ 5 บท คะ
    พอดีพี่สอน รร ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สอนวิทยาศาสตร์ ม 2 อยากจะทำงานวิจัยลองดูนึกว่าอนุเคราะห์เป็นวิทยาทานนะคะ รบกวนขอ สัก 2-3 เรื่องนะคะ อีเมล์พี่คะ puttipon_2554@hotmail.com
    ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

  20. ผลงานเยอะแยะ ขยันจังเลย ขอเป็นกำลังใจให้เป็นครูท่ีดีตลอดไปนะจ๊ะ

  21. นางสาวสุชาดา คันธบุปผา

    ขอบคุณมากนะค่ะครูกอบวิทย์ ได้แนวคิดดีๆๆเยอะเลยค่ะ

  22. เยี่ยมมากนายแน่มาก..ขอเป็นกำลังใจให้กับครูพันธุ์ใหม่…น่าสนใจและติดตามถ้าอยากติดต่อจะทำอย่าไงครับน้อง

  23. ครูกอบวิทย์ เก่งมากและเป็นแบบอย่างที่ดีของครูวิทยาศาสตร์ ขอชื่นชมค่ะ

  24. ดีครับ ผมกำลังจะทำวิจัย เพื่อเลื่อนวิทยฐานะเป็น คศ 3 เลยอยากจะขอคำแนะนำ
    จากคนเก่ง นะครับ ผมจบการมัธยม แต่การสอนสิ่งแวดล้อม คับ มศว.เหมือนกัน
    เข้ามาดูแล้ว ดีมาก จะทำวิจัยปแนวใดถึงจะได้รับการพิจาณาเลื่อนวิทยฐานะครับ
    ผมสอนวิทยาศาสตร์ ป.1-2 ครับ รร. ของกรุงเทพมหานคร
    ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

  25. คุณครูคะหนูขอตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนได้ไหมคะ คือว่าอาจารย์ให้หานะคะ อาจารย์จะให้ส่งคะ ช่วยหน่อยได่ไหมคะครู ขอทั้งห้าบทเลยนะคะ หนูจันทร์จิรา เนินชาย คะ เรีนยครูอยู่ปีสามเอกชีววิทยาคะ
    ยังไงก็ตอบด้วยนะคะ ขอบคุณคะ janjira28987@hotmail.com

  26. น้องเยี่ยมยอดจริงๆ ดีใจกับเด็กไทยที่มีครูแบบน้อง พี่อยากเดินตามแนวน้องแต่ไม่มีความสามารถจึงอยากจะรบกวนน้องส่งตัวอย่างการประเมินหลักสูตร ในด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ของรายวิชา ว 21101 วิทยาศาสตร์ 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนนนทรีวิทยา พุทธศักราช 2552 โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบปุยแซงค์ มาให้พี่ตาม thunchanok2008@hotmail.com ด้วย

  27. ครูเก่งที่สุดเลย ที่สนใจงานวิจัยที่มีคุณภาพ ขออนุญาตนำไปเป็นต้นแบบของครูในกลุ่มสาระฯได้ไหม ครับ ครูกอบวิทย์
    ครูมโนชย์ ประชานิเวศน์ manotjrw@hotmail.com ที่อยู่ของผมครับ

  28. คุณครูเก่งมากค่ะ อยากรบกวนขอวิจัยในชั้นเรียนของวิชาชีววิทยาม๕ และวิทยาศาสตร์ม๑ ว๒๑๑๐๒ ค่ะถ้าจะกรุณาส่งตามe-mail : bioy019@hotmail.com ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

  29. สวัสดีคะ ครูกอบวิทย์ เข้ามาดูแล้วรู้สึกได้เลยว่าเก่งมากๆ อยากจะขอรบกวนตัวอย่างแผนการสอนเกี่ยวกับวิชาโลก ดาราศาสตร์ เนื้อหาอะไรก็ได้ ที่ใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะนะคะ อยากได้ไปดูเป็นแนวทางการเขียนแผน พอดีจะทำวิจัยชั้นเรียนเกี่ยวกับด้านนี้อะคะ รบกวนหน่อยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ เมลล์นะคะ jane_ppk@hotmail.com

  30. พรนิพา สง่ามั่งคั่ง

    พี่กำลังหาวิจัยในชั้นเรียนเลยเข้ามาดูทักทายเป็นครูรุ่นใหม่ที่ไฟแรงนะคะ

  31. พรนิพา สง่ามั่งคั่ง

    พี่สอนวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม. 1 นะคะกำลังจะทำวิจัยในชั้นเรียนไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดีช่วยแนะนำพี่หน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้าคะ
    พรนิพา

  32. พี่สอน ฟิสิกส์ นะคะ ขอชื่นชมความตั้งใจและความสามารถของน้องนะคะ เห็นพัฒนาการของน้อง

    โชคดีของนักเรียนนะคะ ที่ไ้ด้ัครูที่ตั้งใจและมุ่งมั่น ในการสอน เชื่อมั่นว่าต้องประสบความสำเร็จนะคะ
    ครูธัญญารัตน์

  33. อยากได้ตัวอย่างงานวิจัยในชั้นเรียนและกรุณาส่งทางE-mailท่ให้

  34. ยินดีกับข้าราชการครูคนเก่ง สมัยใหม่ พี่เองตามยุคไอทีไม่ค่อยจะทัน ถ้าอย่างไรก็แนะนำกันบ้างนะน้อง

  35. เก่งจริงๆ อยากให้มีครู รุ่นใหม่แบบนี้ มาก ๆ

  36. เก่งสุดยอดจริง ๆ ค่ะ น้องกอบวิทย์

  37. อยากสอนวิทย์ให้ได้แบบอาจารย์ ^^

  38. ตอนนี้จะทำวิจัยในชั้นเรียนแบบ active learning แต่ไม่รู้จะใช้เครื่องมือแบบใดมาวัดผลสัมฤทธิ์ค่ะะ วาน อาจารย์ กอบวิทย์ ให้คำปรึกษา ด้วยน่ะค่ะ

  39. เก่งนะอยากเก่งต้องฝึกฝน วันหลังอบรมจะไปอีก

  40. เก่งจังเลยค่ะ เป็นกำลังใจให้สำหรับการสร้างสรรค์ผลงานดีดีต่อไปนะคะ

  41. เก่งมากๆ ถ้ามีครูแบบคุณครูกอบวิทย์เยอะๆ นักเรียนคงมีความสุขในการเรียนมากๆเลยค่ะ เป็นคนรุ่นใหม่ที่ไฟแรงจริงๆ

  42. อยากรบกวน ขอ ต.ย. งานวิจัย วิชา ชีวะ ม.ปลาย ซักเรื่องค่ะ เพื่อเอาไว้ศึกษา และพัฒนาการทำวิจัย ให้เก่งเหมือนคุณครูกอบวิทย์ หน่ะคะ
    รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

  43. ผลงานของครูกอบวิทย์เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและพัฒนา
    นักเรียนมากๆค่ะ

  44. รบกวนส่งตัวอย่างงานวิจัย เพ่ือเป็นตัวอย่างงานวิจัยค่ะ เพื่อเอาไว้ศึกษา และพัฒนาการทำวิจัย ให้เก่งเหมือนคุณครูกอบวิทย์ หน่ะคะ
    รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

  45. เก่งจริงๆๆ

  46. รบกวนส่งตัวอย่างงานวิจัย เพื่อเป็นตัวอย่างงานวิจัยค่ะ เพื่อเอาไว้ศึกษา และพัฒนาการทำวิจัย ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  47. ศุภลักษณ์ สวัสดิ์นะที

    ขอบคุณในการแบ่งปันความรู้ค่ะ

  1. Pingback: 2010 in review « เรียนวิทย์ผ่านเว็บ กับครูกอบวิทย์

ใส่ความเห็น